เคล็ดลับสุขภาพ

คำถามหนึ่งที่เกิดขึ้นในทุกๆ เย็นหลังเลิกงาน “ เย็นนี้จะทานอะไรดี ? ”

คำถามหนึ่งที่เกิดขึ้นในทุก ๆ เย็นหลังเลิกงาน

“ เย็นนี้จะทานอะไรดี ? ”

นี่คือ 3 ข้อเท็จจริงที่ทำให้คุณเข้าใจ

ความสัมพันธ์ระหว่าง การนอนหลับ กับ อาหาร มากขึ้น

อีก 1 คำถามที่น่าสนใจไม่แพ้กัน 

สำคัญ & มีผลต่อการนอนหลับ เป็นอย่างมาก

ไม่ใช่แค่ว่าควรทานอะไร เป็นมื้อค่ำ คำถามคือ 

ควรทานเมื่อไหร่ ?
ทานตอนไหนถึงจะดี ?

การทานอาหารค่ำร่วมกัน

ในครอบครัวใหญ่ พูดคุย สังสรรค์

บางครั้ง กว่าจะเสร็จก็ดึกดื่น เที่ยงคืน

ถ้าทานมื้อค่ำเสร็จ แล้วเข้านอนเลย 

หรือ เข้านอนหลังจากทานไม่นาน

อาการที่ตามมา แน่นอน 

ท้องอืด นอนแน่นท้อง  

บางครั้ง ตื่นเช้ามาแล้วยังไม่หาย 

การทานมื้อค่ำที่ เยอะ & ดึกเกินไป

ไม่เพียง ส่งผลต่อระบบย่อยอาหาร เท่านั้น 

ยังส่งผลต่อ ระบบเผาผลาญ ด้วย

วันนี้ ถ้าคุณรู้ว่า 

ช่วงเวลา & ปริมาณของอาหารมื้อค่ำ 

มีผลต่อการนอนหลับ สุขภาพ ความเป็นอยู่

เราเชื่อว่า คุณจะอยากปรับเปลี่ยนการรับประทานมื้อค่ำอย่างแน่นอน

- ข้อเท็จจริงที่1 -

ทำไมควรเลือกรับประทาน อาหารเบา ๆ 2-3 ชั่วโมงก่อนเข้านอน ?

ถ้าคุณกินอาหารค่ำมื้อใหญ่ เมื่อใกล้จะเข้านอน

อาจส่งผลต่อการนอน ใช้เวลานานกว่าจะหลับ 

หรือ ไม่ได้คุณภาพ การนอนหลับอย่างที่คุณคาดหวัง

ขัดขวางการซ่อมแซม & ฟื้นฟูส่วนต่าง ๆ ของร่ายกาย 

กระทบการหลั่งโกรทฮอร์โมน (Growth Hormone) ในช่วงหลับลึก 

ส่งผลถึงสุขภาพ ประสิทธิภาพในการทำงาน ความเป็นอยู่

- ข้อเท็จจริงที่ 2 -

ใช่..

“ ทานอะไรได้อย่างนั้น ” 

ประโยคที่กล่าวมาข้างต้นนั้นถูกต้อง

แต่ รู้หรือไม่ ? คุณภาพการนอนหลับ  คืนก่อนหน้า มีผลต่อความอยาก

อาหารประเภทต่าง ๆ ด้วย 

เมื่อคุณนอนหลับ ฮอร์โมนต่าง ๆ จะถูกปล่อยออกมา

หลังจากคืนที่นอนหลับไม่สนิท เป็นเรื่องปกติที่จะอยากอาหาร

ประเภท Fast carbs มีคาร์โบไฮเดรตที่ยกระดับน้ำตาลในเลือดอย่างรวดเร็ว 

เช่น น้ำตาลกลูโคส, ของหวานต่าง ๆ 

เลปติน Leptin & เกรลิน Ghrelin

เป็นฮอร์โมนที่ทำงานร่วมกันแล้วส่งสัญญาณไปยังสมอง ทำให้เรารู้สึกหิว หรือ อิ่ม

เลปติน..  ฮอร์โมนแห่งความอิ่ม การหลั่งเลปตินจะเพิ่มขึ้น หากเรานอนหลับสนิทอย่างมีคุณภาพ 

ส่งผลให้..ทานแค่พออิ่ม เลือกทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เช่น ผัก ผลไม้

อย่างไรก็ตาม..

เกรลิน.. ฮอร์โมนแห่งความหิว การหลั่งฮอร์โมนไม่ปกติหลังจากคืนที่นอนหลับไม่สนิท 
ร่างกายอาจหลั่งเกรลินเพิ่มขึ้น

ส่งผลให้..

- ทานเพิ่มขึ้นประมาณ 200-300 แคลอรีต่อวัน

- เลือกอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ หันไปหาน ้าตาล

คาร์โบไฮเดรตสูง ไขมันสูง เช่น คุกกี้ เค้ก  พิซซ่า

- ข้อเท็จจริงที่ 3 -

อาหาร บางชนิดช่วยให้ นอนหลับดีขึ้น กรดอะมิโน Amino Acid จาก

แอล-ทริปโตเฟน L-Tryptophan และกาบา GABA พบว่า ช่วยเพิ่ม Melatonin Level

เราเชื่อว่า หลายคนคงได้เคยยินความสำคัญของ เมลาโทนิน ต่อ การนอนหลับ

ช่วยให้หลับได้เร็วขึ้น มีคุณภาพการนอนหลับที่ดี

แต่ปัญหา คือ ระดับเมลาโทนิน (Melatonin Level) ในผู้ใหญ่ มีไม่เพียงพอ

ระดับเมลาโทนินจะสูงที่สุดในวัยแรกรุ่น จากนั้นจะเริ่มลดลงอย่างรวดเร็วในช่วงอายุ 30

และระดับเมลาโทนินจะลดลงเหลือเพียง 50%  ของระดับสูงสุดที่มีในวัยแรกรุ่น
เมื่อเข้าสู่ช่วงอายุ 40-50 ปี

บางคนแย้งว่า.. 

เราสามารถ ทาน Melatonin ในรูปแบบอาหารเสริม ได้

แต่หากรับเข้าไปเป็นเวลา นาน ๆ อาจใช้ไม่ได้ผล 

ไม่สามารถช่วยในการนอนหลับได้ และอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงอื่น ๆ 

ปวดศีรษะ มวนท้อง วิตกกังวล หงุดหงิด หรือ อาจทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า 

ข่าวดี คือ

มีอาหารมากมายที่อุดมไปด้วย L-Tryptophan

ที่ร่างกายนำไป ใช้ในการสร้างสาร Serotonin ซึ่งถ้ามี

เซโรโทนินเพียงพอ ร่างกายจะ เพิ่มการหลั่ง Melatonin

L-Tryptophan & GABA 

ช่วยให้ผ่อนคลายและทำให้นอนหลับได้ดี พบมากในข้าว 

แป้งที่ไม่ผ่านการขัดสี & ผลไม้บางชนิด เช่น ข้าวซ้อมมือ 

ข้าวกล้องงอก จมูกข้าว เผือก มัน งา สาหร่ายทะเล กล้วย 

อินทผลัม ลูกพรุน และนม

หรือ รับประทานอาหารที่มี ปริมาณ Melatonin สูงโดยตรง 

เช่น ปลา ไข่ เชอร์รี่ และ วอลนัท นอกจากนั้น การออกกำลังกาย & แสงแดด

ยังช่วย เพิ่มระดับ Serotonin ได้อีกด้วย