Health Tips

การนอนหลับ และ ระบบภูมิคุ้มกัน

รู้หรือไม่ ? การนอนหลับไม่เพียงพอ 

นำไปสู่ความเสี่ยงในการเกิดโรคติดเชื้อได้

พบหลักฐานจากการวิจัยทางการแพทย์

เชื่อมโยงภาวะการนอนหลับไม่เต็มอิ่ม กับ 

การเสียชีวิตก่อนวัยอันควร


งานวิจัยศึกษาลักษณะการนอนในระยะเวลาที่สั้น 

การนอนหลับไม่เพียงพอต่อเนื่องกัน

และคุณภาพการนอนหลับที่ไม่ดี

ซึ่งมีผลให้ ระบบภูมิคุ้มกันร่างกายถดถอยลง 


ระหว่างการหลับนั้นระบบภูมิคุ้มกันจะหลั่งโปรตีน “ไซโทคีน” 

ช่วยให้นอนหลับได้ดี ซึ่งไซโทคีนควรเพิ่มขึ้นเมื่อเรามีอาการติดเชื้อ

หรือได้รับสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกาย 


การนอนหลับไม่เพียงพอ

ลดทอนปริมาณการผลิตไซโทคีนลง

ซึ่งหมายความว่า แอนติบอดีซึ่งทำหน้าที่เป็น 

“ภูมิต้านทาน” จะลดจำนวนลง

ระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์ มีหน้าที่ปกป้องร่างกายจากสิ่งแปลกปลอม 

โดยเฉพาะจุลชีพก่อโรค เช่น แบคทีเรีย ไวรัส ปรสิต รา พยาธิ 

รวมถึงสิ่งแปลกปลอมอื่น ๆ เช่น เซลล์ที่กำลังเจริญเติบโตไปเป็นมะเร็ง

อวัยวะที่ปลูกถ่ายเข้ามาในร่างกาย การได้รับเลือดผิดหมู่ สารก่อภูมิแพ้

 การนอนหลับไม่เพียงพอ 

ส่งผลเกี่ยวเนื่องไปสู่ความเสี่ยงจากโรคติดเชื้อ

ยกตัวอย่างจากการศึกษาหนึ่ง (ในปี 2005-2012) 

แพทย์วินิจฉัยว่า ในระยะเวลา 1 สัปดาห์

- (1) -

คนที่นอนหลับน้อยกว่า 5 ชั่วโมง 

เป็นโรคหวัดจากการติดเชื้อไวรัสของทางเดินหายใจส่วนบน 

และช่องอก เนื่องจากการนอนไม่พอ

คุณภาพการนอนที่ไม่ดีนั้นจะไปเพิ่มความอ่อนแอต่อโรคติดเชื้อ 

โดยทดลองกับไรโนไวรัส (เชื้อไวรัสที่พบมากสุดในมนุษย์และเป็นสาเหตุหลักของโรคหวัด) 

ซึ่งไปกระตุ้นให้เกิดการติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนบน 

- (2) -

ส่วนคนที่นอนมากกว่า 6 ชั่วโมงหรือน้อยกว่า 

ยังคงมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อหวัดได้ คิดเป็น 4 เท่าของคนที่นอน 7 ชั่วโมงหรือมากกว่านั้น

การศึกษาทดลองจำนวนมาก ที่ใช้ข้อจำกัดการนอนหลับทั้งหมดหรือบางส่วน 

หลังจากการฉีดวัคซีน  พบว่า การสูญเสียการนอนหลับเฉียบพลัน 

สามารถ ทำลายการตอบสนองของแอนติบอดี

เมื่อเทียบกับการนอนหลับที่ไม่ถูกรบกวน

การสูญเสียการนอนหลับส่งผลกระทบต่อความสามารถในการทำงานของเซลล์ภูมิคุ้มกัน

 จากสถานการณ์ปัจจุบัน ที่มีการระบาดของโรค COVID-19 ทั่วโลก

ถึงเวลาต้อง ให้ความสำคัญกับการนอนหลับอย่างจริงจัง 

ให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ปกป้องร่างกายจากเชื้อโรคและเชื้อไวรัส


ระยะเวลากา รนอนที่เพียงพอเป็นสิ่งจำเป็น


การมีที่นอนที่ดีตามหลักสรีรศาสตร์ & เครื่องนอนที่มีคุณภาพ

ให้ร่างกายอยู่ในอุณหภูมิและความชื้นที่เหมาะสม 

ล้วนเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้สามารถนอนหลับได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

ฝึกสุขอนามัยในการนอนหลับที่ดี ช่วยให้นอนหลับได้อย่างเต็มที่ และมีคุณภาพ

ธนวิตต เจียมประภา
(Managing Director of HA Thailand)


อ้างอิง

• “Sleep Duration and All-Cause Mortality: A Systematic Review and Meta-Analysis of Prospective Studies | Sleep | Oxford Academic,” accessed April 27, 2020, https://academic.oup.com/sleep/article/33/5/585/2454478.

• Francesco P. Cappuccio et al., “Sleep Duration Predicts Cardiovascular Outcomes: A Systematic Review and Meta-Analysis of Prospective Studies,” European Heart Journal 32, no. 12 (June 1, 2011): 1484–92, https://doi.org/10.1093/eurheartj/ehr007.

• “Why Sleep Is Important for Health: A Psychoneuroimmunology Perspective | Annual Review of Psychology,” accessed April 27, 2020, https://www.annualreviews.org/doi/abs/10.1146/annurev-psych-010213-115205.

• “Toll-Like Receptor Signaling Pathways | Science,” accessed April 27, 2020, https://science.sciencemag.org/content/300/5625/1524.

• MARK R. OPP, JAN BORN, and MICHAEL R. IRWIN, “Sleep and the Immune System,” in Psychoneuroimmunology (Elsevier, 2007), 579–618.