ข้อดี-ข้อเสียของที่นอนที่มีต่อผู้สูงอายุ
ผู้เขียนขอนำเสนอ ที่นอน ส่วนใหญ่ที่มีในตลาด 4 ประเภท ตามวัสดุที่ใช้ในการผลิต โครงสร้างหลักของที่นอน ได้แก่
เมมโมรี่โฟม ยางพารา สปริง และระบบไฮบริด (ผสม)
ข้อดี-ข้อเสียของที่นอนที่มีต่อผู้สูงอายุ
ผู้เขียนขอนำเสนอ ที่นอน ส่วนใหญ่ที่มีในตลาด 4 ประเภท ตามวัสดุที่ใช้ในการผลิต โครงสร้างหลักของที่นอน ได้แก่
เมมโมรี่โฟม ยางพารา สปริง และระบบไฮบริด (ผสม)
เมมโมรี่โฟม
- กระจายน้ำหนักได้ดีทำให้พื้นผิวจมลงเพียงเล็กน้อย เมื่อทิ้งน้ำหนักลงบนที่นอน
- ช่วยให้การพลิกตัวทำได้ง่ายขึ้น
- บรรเทาอาการปวด รองรับน้ำหนัก รักษาสุขภาพกระดูกสันหลัง
- ลดการถ่ายโอนน้ำหนัก ไม่รบกวนคนข้าง ๆ เมื่อมีการเคลื่อนไหว
ที่นอนเมมโมรี่โฟมบางหลังไม่มีเสริมขอบที่นอน อาจมีปัญหาการขึ้น-ลุกออกจากที่นอนลำบาก
เมมโมรี่โฟมมีคุณสมบัติกักเก็บความร้อน บางคนอาจรู้สึกไม่สบายตัวขณะนอนหลับ
นวัตกรรม Cool Gel Memory Foam ช่วยแก้ปัญหาได้นี้
ด้วยเจลเสริมด้านในที่นอน ให้ความเย็นสบาย
ยางพารา
- ให้ความรู้สึกยืดหยุ่นนุ่มสบาย
- การกระจายแรงกด ทำให้ผ่อนคลาย นอนหลับง่าย
- รองรับน้ำหนักช่วงกระดูกสันหลัง & สะโพก
- (ยางพาราธรรมชาติเเท้100%) ปราศจากสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อการสัมผัส
- (เคลือบสารลาโนลิน) ป้องกันไรฝุ่น ลดการสะสมเชื้อโรค แบคทีเรีย ลดอาการภูมิแพ้
มีราคาค่อนข้างสูง เมื่อคนที่นอนข้าง ๆ พลิกตัว เคลื่อนไหว อีกคนอาจสามารถรู้สึกสั่นสะเทือนได้ง่าย
สปริง
- มีฐานมั่นคง ขึ้น-ลุกออกจากที่นอนได้ง่าย
- มีโครงสร้างขอบที่นอนที่แข็งแรง สามารถนั่ง/นอนบริเวณขอบเตียงได้ ไม่หย่อนคล้อย หรือ ไหลตกลงมาจากที่นอน
- ระบายอากาศได้ดีรู้สึกสบายตัวยามนอนหลับ
เมื่อนอนบนที่นอนโครงสร้างสปริงบางหลัง อาจรู้สึกถึงการสั่นสะเทือนจากการเคลื่อนไหว
หากต้องการป้องกันการสั่นสะเทือนจากการพลิกตัว ควรเลือกที่นอน โครงสร้างสปริงที่มีการแยกสปริงแต่ละตัว เพิ่มการกระจายน้ำหนัก
เพิ่มความสบาย และ การรองรับที่ดีที่สุด
ที่นอน Slumberland รุ่น New Royal Empire ระบบ Double Pocketed Posture Springing 3600 รองรับทุกส่วนของร่างกายอย่างเหมาะสม
ระบบไฮบริด (ผสม)
เช่น ที่นอนสปริง + โฟม / ที่นอนยางพารา + สปริง + โฟม ผสมผสานโครงสร้างของที่นอนแต่ละประเภท เพื่อดึงคุณสมบัติเด่น & ข้อดีมารวมกัน ระบบโครงสร้างแบบไฮบริดส่วนใหญ่มีราคาสูง
เลือกที่นอนที่ส่งผลดีกับร่างกาย & สุขภาพ
เลือกตามความชอบ ความต้องการ เช่น ความนุ่ม-แน่นของที่นอน
คำนึงถึงปัญหาสุขภาพที่เป็นอยู่ เช่น อาการปวดเมื่อย ปัญหาเกี่ยวกับระบบหายใจ
ควรหลีกเลี่ยงที่นอนที่สะสมฝุ่น หรือ ระบายอากาศได้ยาก คำนึงถึงแนวโน้ม หรือ ความเสี่ยงของปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
กำหนดการนอนหลับของคุณ
เลือกที่นอนที่ส่งผลดีกับร่างกาย & สุขภาพ
เมื่ออายุมากขึ้น สรีระร่างกายเปลี่ยนแปลง อาจมีผลให้พฤติกรรมการนอนเปลี่ยนตาม
อาจพบปัญหาสุขภาพ นอนหลับยาก หยุดหายใจขณะนอนหลับ ปวดหลังเรื้อรัง ปวดกล้ามเนื้อ โรคกระดูก การเสื่อม ของกระดูกสันหลัง กระดูกสันหลังโก่ง คด
การนอนหลับไม่เพียงพอ อาจส่งผล กระทบต่อสุขภาพอย่างร้ายแรง เกี่ยวพันไปถึงระบบประสาท เกิดความเสี่ยงของภาวะสมองเสื่อม
การนอนหลับที่ดีและมีประสิทธิภาพ ช่วยฟื้นฟูร่างกายจากอาการเจ็บป่วย
การเลือกที่นอนที่ดี จึงสำคัญอย่างมาก